วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

เรื่องที่ 3.1 ความหมายและความเป็นมาของนาฏศิลป์ไทย


ความหมายและความเป็นมาของนาฏศิลป์ไทย
นาฏศิลป์ไทย คือ ศิลปะแห่งการร่ายรำที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย จากการสืบค้น ประวัติความเป็นมาของนาฏศิลป์ไทย เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ไทย และวัฒนธรรมไทย จากหลักฐานที่ยืนยันว่านาฏศิลป์มีมาข้านาน เซ่น การสืบค้นในหลักศิลา จารึกหลักที่ 4 สมัยกรุงสุโขทัย พบข้อความว่า “ระบำรำเต้นเล่นทุกวัน” แสดงให้เห็นว่าอย่าง น้อยที่สุด นาฏศิลป์ไทย มีอายุไม่น้อยกว่ายุคสุโขทัยขึ้นไป
นาฏศิลป์ไทยมีความเป็นมาอย่างไร
สรุปที่มาของนาฏศิลป์ไทยได้ดังนี้
1.     จากการละเล่นของซาวบ้านในห้องถิ่น ซึ่งเป็นกิจกรรมเพื่อความบันเทิงและความ รื่นเริงของซาวบ้าน ภายหลังจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ซึ่งไม่เพียงเฉพาะนาฏศิลป์ไทย เท่านั้น ที่มี,ประวัติเซ่น'นี้ แต่นาฏศิลป์ทั่วโลกก็มีกำเนิดจากการละเล่นพื้นเมืองหรือการละเล่น ในห้องถิ่น เมื่อเกิดการละเล่นในห้องถิ่น การขับร้องโต้ตอบกันระหว่างฝ่ายหญิงและฝ่ายขาย ก็เกิดพ่อเพลงและแม่เพลงขึ้น จึงเกิดแม่แบบหรือวิธีการที่พัฒนาสืบเนื่องต่อ ๆ กันไน
2.     จากการพัฒนาการร้องรำในห้องถิ่นลู่นาฏศิลป์ในวังหลวง เมื่อเข้าลู่วังหลวงก็มีการ พัฒนารูปแบบให้งดงามยิ่งขึ้น มีหลักการและระเบียบแบบแผน ประกอบกับพระมหากษัตริย์ ไทย ยุคสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ ทรงเป็นกวีและนักประพันธ์ ดังนั้นนาฏศิลป์ไทย จึงมีลักษณะงดงามและประณีต
นาฏศิลป์ไทยมีองค์ประกอบอย่างไร
องค์ประกอบของนาฏศิลป์ไทย เป็นศิลปะการแสดงที่มีความอ่อนข้อยและงดงามเป็น เอกลักษณ์ของซาติไทย ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี
1. การฟ้อนรำหรือลีลาการร่ายรำอ่อนข้อย งดงาม และแสดงอารมณ์ เพื่อถ่ายทอด เรื่องราวของตัวละคร และลื่อความหมายในการแสดง
2.   เครื่องแต่งกายมีความงดงาม และสื่อถึงความเป็นไทย มีลักษณะแตกต่างกันไป ตามแต่ละบทบาทของตัวละคร เซ่น เครื่องแต่งกายยืนเครื่อง การสวมใส่จะใช้ตรึงด้วยด้าย แทนที่จะเย็บสำเร็จรูป เป็นด้น
3.   วงปีพาทย์เป็นดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดง ซึ่งอาจมีแต่ทำนองหรือมีบท ร้องผสมอยู่คำร้องหรือบทร้องเป็นคำประพันธ์ ที่มีลักษณะเป็นกลอนแปด สามารถนำไปร้อง เพลงชั้นเดียว หรือสองชั้นได้ทุกเพลง คำร้องนี้ทำให้ผู้สอนหรือผู้รำกำหนดท่ารำไปตามบทร้อง

                                

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น