นาฏยศัพท์
หมายถึง ศัพท์เฉพาะในทางนาฏศิลป์ ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้เป็นสัญลักษณ์และสื่อความหมายกันในวงการนาฏศิลป์ไทย นาฏยศัพท์ แบ่งออกเป็น 3 หมวด คือ
หมายถึง ศัพท์เฉพาะในทางนาฏศิลป์ ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้เป็นสัญลักษณ์และสื่อความหมายกันในวงการนาฏศิลป์ไทย นาฏยศัพท์ แบ่งออกเป็น 3 หมวด คือ
1. หมวดนามศัพท์ หมายถึง ท่ารำสื่อต่างๆ ที่บอกอาการของท่านั้นๆ
1.1 วง เช่น วงบน วงกลาง
1.2 จีบ เช่น จีบหงาย จีบคว่ำ จีบหลัง
1.3 ท่าเท้า เช่น ยกเท้า ประเท้า กระดก
2. หมวดกิริศัพท์ คือ ศัพท์ที่ใช้ในการปฏิบัติอาการกิริยา แบ่งออกเป็นศัพท์เสริมและศัพท์เสื่อม
2.1 ศัพท์เสริม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เสริมท่วงทีให้ถูกต้องงดงาม เช่น ทรงตัว ส่งมือ เจียง ลักคอ กด
ไหล่ ถีบเข่า เป็นต้น
2.2 ศัพท์เสื่อม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกท่ารำที่ไม่ถูกระดับมาตรฐาน เพื่อให้ผู้รำรู้ตัวและต้องแก้ไข
ท่วงทีของตนให้เข้าสู่ระดับ เช่น วงล้า วงตัก วงล้น รำเลื้อย รำลน เป็นต้น
3. หมวดนาฏยศัพท์เบ็ดเตล็ด คือ ศัพท์ที่นอกเหนือจากนามศัพท์ กิริยาศัพท์ ซึ่งจัดไว้เป็นหมวดเบ็ดเตล็ด มีดังนี้
เหลี่ยม หมายถึง ระยะเข่าทั้งสองข้างแบะออก กว้าง แคบ มากน้อยสุดแต่จะเป็นท่าของพระ หรือนาง ยักษ์ ลิง เหลี่ยมที่กว้างที่สุด คือเหลี่ยมยักษ์
เดินมือ หมายถึง อาการเคลื่อนไหวของแขนและมือ เพื่อเชื่อมท่า
แม่ท่า หมายถึง ท่ารำตามแบบมาตรฐาน เช่น แม่บท
ขึ้นท่า หมายถึง ท่าที่ประดิษฐ์ให้สวยงาม แบ่งออกเป็น
ก. ขึ้นท่าใหญ่ มีอยู่ 4 ท่า คือ
1) ท่าพระสี่หน้า แสดงความหมายเจริญรุ่งเรือง เป็นใหญ่
2) ท่านภาพร แสดงความหมายเช่นเดียวกับพรหมสี่หน้า
3) ท่าเฉิดฉิน แสดงความหมายเกี่ยวกับความงาม
4) ท่าพิสมัยเรียงหมอน มีความหมายเป็นเกียรติยศ
ข. ขึ้นท่าน้อย มีอยู่หลายท่าต่างกัน คือ
1) ท่ามือหนึ่งตั้งวงบัวบาน อีกมือหนึ่งจีบหลัง
2) ท่ายอดต้องต้องลม
3) ท่าผาลาเพียงไหล่
4) ท่ามือหนึ่งตั้งวงบน อีกมือหนึ่งตั้งวงกลาง เหมือนท่าบังสุริยา
5) ท่าเมขลาแปลง คือมือข้างที่หงายไม่ต้องทำนิ้วล่อแก้ว
พระใหญ่ – พระน้อย หมายถึง ตัวแสดงที่มีบทสำคัญพอๆ กัน พระใหญ่ หมายถึงพระเอก เช่น อิเหนา พระราม ส่วนพระน้อย มีบทบาทเป็นรอง เช่น สังคามาระตา พระลักษณ์
นายโรง หมายถึง พระเอก เป็นศัพท์เฉพาะละครรำ
ยืนเครื่อง หมายถึง แต่งเครื่องละครรำครบเครื่อง
นางกษัตริย์ บุคลิกท่วงทีเรียบร้อย สง่ามีทีท่าเป็นผู้ดี
นางตลาด
ท่วงทีว่องไว สะบัดสะบิ้งไม่เรียบร้อย เช่น นางยักษ์ นางแมว เป็นต้น
ภาษาท่า หมายถึง การแสดงกิริยาท่าทางเพื่อสื่อความหมายแทนคำพูด ส่วนมากใช้ในการแสดงนาฏศิลป์และการแสดงละครต่างๆ ภาษาท่าแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1.
ท่าทางที่ใช้แทนคำพูด เช่น ไป มา เรียก ปฏิเสธ ภาษาท่า หมายถึง การแสดงกิริยาท่าทางเพื่อสื่อความหมายแทนคำพูด ส่วนมากใช้ในการแสดงนาฏศิลป์และการแสดงละครต่างๆ ภาษาท่าแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้
2. ท่าทางที่ใช้แทนอารมณ์ภายใน เช่น รัก โกรธ ดีใจ เสียใจ
3. ท่าแสดงกิริยาอาการหรืออิริยาบถ เช่น ยืน เดิน นั่ง
การร่ายรำท่าต่างๆ นำมาประกอบบทร้องเพลงดนตรี โดยมุ่งถึงความสง่างามของลีลาท่ารำ และจำเป็นต้องอาศัยความงามทางศิลปะเข้าช่วย วิธีการใช้ท่าทางประกอบบทเรียน บทพากย์ และเพลงดนตรีพันทางนาฏศิลป์เรียกว่า การตีบท หรือการรำบท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น